กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง

หลักการของกล้องโทรทัศน์ชนิดสะท้อนแสง   (Reflect telescope)
     

 กล้องดูดาวที่ใช้กระจกเป็นหลัก กล้องจะรับแสงที่เข้ามากระทบกับกระจกเว้าที่อยู่ท้ายกล้องที่เราเรียกว่า Primary Mirror แล้วรวมแสงไปกระทบกับกระจกระนาบหรือปริซึม เราเรียกว่า Secondary Mirror  ที่อยู่กลางลำกล้อง ให้สะท้อนเข้าสู่เลนซ์ตาขยายภาพอีกทีหนึ่ง  โดยหลักการคำนวนอัตราการขยายคือ

             อัตราขยายของกล้อง = ความยาวโฟกัสของกระจกเว้า / ความโฟกัสของเลนซ์ตา
    
                          
      
    ประวัติการพัฒนากล้องแบบสะท้อนแสง

   
 กล้องแบบเกรกอเลียน (Gergorian) ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดย Jame Gregory นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวสก๊อต เมื่อปีคศ.1663  50ปีหลังยุคของกาลิเลโอ โดยการใช้กระจกเว้าที่มีรูตรงกลาง และสะท้อนภาพด้วยกระจกบานที่สองซึ่งเป็นกระจกเว้าด้วยกัน  เมื่อใช้เลนซ์ตามาขยายภาพจะทำให้ได้ภาพหัวตั้งเหมาะกับการใช้ดูวิวได้ แต่ในยุคสมัยนั้นกระจกที่มีรูตรงกลางนั้นผลิตยากจึงไม่ค่อยได้รับความนิยม
                 

     กล้องแบบนิวโทเนียน 
(Newtonian) เซอร์ไอแซค นิวตัน เป็นคนที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เป็นคนแรกปี คศ. 1671 จึงมักเรียกกล้องแบบนี้ว่ากล้องนิวโทเนียนด้วย  โดยการใช้กระจกเว้าธรรมดาที่ไม่มีรู และสะท้อนภาพด้วยกระจากราบบานที่สอง ทำให้กล้องแบบนี้ปรับแต่งและสร้างง่าย เป็นที่นิยมในหมู่นักดูดาวทั่วไป
            
       Newton
                                        กล้องแบบสะท้อนแสงตัวแรกที่ เซอร์ไอแซคนิวตันประดิษฐ์ขึ้น ช่วงปีค.ศ.1668
     กล้องแบบแคสซิเกรน
(Cassegrain) บางครั้งก็เรียกว่า Classic Cassegrain ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปี คศ.1672 โดยการปรับปรุงมาจากแบบเกรกอเลียน ที่ใช้กระจกหลักแบบพาราโบลิคมีรูตรงกลาง แต่ใช้กระจกบานที่สองเป็นกระจกนูนแทนกระจกเว้า ทำให้การCollimate ง่ายขึ้น
                   
      กล้องแบบเนสชมิท (Nasmyth) ประดิษฐ์ขึ้นโดย John Nasmyth เมื่อปี คศ. 1840 โดยรวมกล้องแบบนิวโทเนียน และแคสซิเกรนไว้ด้วยกัน  ยกเว้นกระจก Primary ที่ไม่มีรูตรงกลางเท่านั้น  มีกระจกราบ 2 บานที่สะท้อนแสงมายังฐานของกล้องทำให้ติดตั้งอุปกรณ์หนักได้
                   
      กล้องแบบคูเด้ 
(Coude')  เป็นการพัฒนากล้องแบบเนสชมิทขึ้นมา โดยให้จุดโฟกัสของกระจกตกออกมาที่บริเวณจุดหมุน Declination พอดีที่เราเรียกว่า Coude' Focus  ทำให้จุดนี้ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อย้ายตำแหน่งชี้กล้องไปที่อื่นๆ ซึ่งเหมาะกับการติดตั้งอุปกรณ์หนักๆสำหรับวัดค่า เช่น Spectrometer

      
      กล้องริชชี-คาเทียร์ (Ritchey-Chrétien Telescope หรือ RCT)  เป็นกล้องแคสซิเกรนแบบพิเศษที่พัฒนาให้แก้ปัญหาเรื่อง Coma ที่เกิดขึ้นกับกระจกขนาดใหญ่ โดยใช้กระจกแบบ Hyperbora ทั้ง Primary และ Secondary ทำให้ลดอาการคลาดทางความโค้งได้ดีเยี่ยม ถูกประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกโดยนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน George Willis Ritchey และ นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Henri Chrétien ราวต้นปี คศ.1910

กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสงขนาดใหญ่ ที่นิยมใช้ตามหอดูดาว

กล้องสะท้อนแสง ที่นิยมสร้างขึ้นในหมู่
นักดูดาวสมัครเล่น


           
      ข้อดีของกล้องแบบสะท้อนแสง 
      1. ใช้กระจกเว้าเป็นตัวรวมแสง ทำให้สามารถสร้างขนาดใหญ่มากๆได้ ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าเลนซ์ที่มีขนาดเท่ากัน
      2. โดยทั้วไปกล้องชนิดนี้จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-6 นิ้วขึ้นไป ทำให้มีการรวมแสงได้มากเหมาะที่จะใช้สังเกตวัตถุระยะไกลๆ เช่น กาแลกซี เนบิวล่า เพราะมีความเข้มแสงน้อยมาก
      3. ภาพที่ได้จากกล้องแบบสะท้อนแสง จะไม่กลับภาพซ้ายขวาเหมือนกล้องแบบหักเหแสง แต่การมองภาพอาจจะ หัวกลับบ้าง ขึ้นอยู่กับลักษณะการมองจากกล้องเพราะเป็นการมองที่หัวกล้อง ไม่ใช่ที่ท้ายกล้อง เหมือนกล้องแบบหักเหแสง
   
      ข้อเสียของกล้องแบบสะท้อนแสง 
      1. การสร้างนั้นยุ่งยากซับซ้อนมาก
      2. มีกระจกบานที่สองสะท้อนภาพอยู่กลางลำกล้อง ทำให้กีดขวางทางเดินของแสง หากเส้นผ่านศูนย์กลาง กล้องเล็กมากๆ ดังนั้นกล้องแบบสะท้อนแสงนี้จะมักมีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 4.5 นิ้วขึ้นไ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น