28 มกราคม 2557

ข่าว วันที่ 27 มกราคม 2557

วงแหวนดาวหางในระบบฟอมาลโอท์    27 มกราคม 2557 
  ดาวฤกษ์ใกล้บ้าน ฟอมาลโอท์ เอ(Fomalhaul A) นั้นมีระบบดาวเคราะห์ที่โด่งดังที่สุดนอกเหนือจากระบบสุริยะของเรา ประกอบด้วยทั้งดาวเคราะห์นอกระบบดวงหนึ่งและวงแหวนดาวหางอีก 1 วง 
  

  ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติได้ประกาศการค้นพบใหม่ด้วยหอสังเกตการณ์อวกาศเฮอร์เชลซึ่งทำให้ระบบแห่งนี้จึงน่าจดจำมากขึ้นไปอีก นั้นคือ ขณะนี้ พบว่าดาวที่มวลต่ำสุดในบรรดาดาวสามดวงของระบบฟอมาลโอท์ คือ ฟอมาลโอท์ ซี มีแถบดาวหางเป็นของมันเอง นักวิจัยเผยแพร่ผลสรุปในจดหมายต่อวารสาร Monthly Notices of the Royal Astronomical Society


ฟอมาลโอท์ เอ เป็นหนึ่งในดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า อยู่ห่างออกไป 25 ปีแสงในกลุ่มดาวปลาทางใต้(Piscis Austrinus) มันส่องสว่างเป็นสีฟ้าขาวและโดดเด่นเมื่อมองจากซีกโลกใต้ จากละติจูดเหนือมันจะปรากฎอยู่ต่ำทางใต้ในช่วงค่ำคืนของฤดูใบไม้ร่วง เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ฟอลมาลโอท์ ซี ซึ่งมีอีกชื่อว่า LP 876-10 นั้นเป็นดาวแคระแดงสลัวที่เห็นได้ต่อเมื่อผ่านกล้องดูดาว และเพิ่งถูกพบว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบฟอมาลโอท์เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้เอง


ความโดดเด่นของฟอมาลโอท์ เอ ทำให้มันกลายเป็นเป้าหมายหลักสำหรับกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลซึ่งนักดาราศาสตร์ใช้มันเพื่อค้นหาวงแหวนของดาวหาง, บอกใบ้และจากนั้นก็พบดาวเคราะห์จากการถ่ายภาพโดยตรง Fomalhaut b ในปี 2008(นักดาราศาสตร์ใช้อักษรตัวใหญ่สำหรับดาวฤกษ์ และอักษรตัวเล็กสำหรับดาวเคราะห์ ดังนั้น Fomalhaut b เป็นดาวเคราะห์ และ Fomalhaut B เป็นดาวฤกษ์ดวงที่สองในระบบ)


การค้นพบครั้งใหม่อาจจะเป็นกุญแจสู่ปริศนาบางอย่างของระบบฟอมาลโอท์ ผู้เขียนนำ Grant Kennedy นักดาราศาสตร์ที่สถาบันดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวว่า มันยากมากๆ ที่จะพบแถบดาวหางสองแห่งในระบบแห่งเดียว และด้วยดาวฤกษ์สองดวงที่อยู่ห่างกัน 2.5 ปีแสง นี่เป็นหนึ่งในระบบดาวที่อยู่ห่างจากกันมากที่สุดเท่าที่เราทราบ มันทำให้เราประหลาดใจว่าเพราะเหตุใด ดาวฤกษ์ ฟอมาลโอท์ เอ กับ ซี ต่างก็มีแถบดาวหาง และแถบทั้งสองนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไรหรือไม่


การค้นพบอาจจะช่วยไขปริศนาข้อใหญ่ในระบบฟอมาลโอท์ นั้นคือ วงโคจรของวงแหวนดาวหางและดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์ เอ นั้นเป็นวงรี วงโคจรที่รีคิดกันว่าเป็นผลจากการผ่านเข้าใกล้กับสิ่งอื่นในระบบ บางทีอาจจะเป็นดาวเคราะห์ที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรือบางทีอาจจะเป็นหนึ่งในดาวฤกษ์ที่เหลืออีกสองดวง บี หรือ ซี


การค้นพบแถบดาวหางรอบ ซี เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากการผ่านเข้าใกล้เช่นนั้นไม่เพียงแต่ทำให้แถบดาวหางเป็นวงรี แต่มันยังทำให้แถบสว่างขึ้นจากการที่ดาวหางชนกันถี่มากขึ้น ปล่อยฝุ่นและน้ำแข็งออกมาจำนวนมาก ตัวดาวฤกษ์เองนั้นยากที่จะมีแถบดาวหางสว่างเช่นนี้ ดังนั้นการค้นพบรอบทั้ง เอ และ ซี ก็บอกว่าพวกมันอาจจะมีความสว่างที่เพิ่มขึ้นจากการผ่านเข้าใกล้ก่อนหน้านี้ระหว่างทั้งสอง


Paul Kalas จากมหาวิทยาลัยคาลิฟอร์เนีย ค้นพบว่าวงโคจรนั้นเป็นวงรีและก็เกี่ยวข้องกับงานใหม่ด้วย เขากล่าวว่า เราคิดว่าระบบ ฟอมาลโอท์ เอ ถูกรบกวนโดยดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่อยู่ภายใน แต่ขณะนี้กลับดูเป็นว่าดาวฤกษ์ขนาดเล็กดวงหนึ่งจากภายนอกก็น่าจะส่งอิทธิพลต่อระบบนี้ด้วย การทดสอบสมมุติฐานก็คือการตรวจสอบวงโคจรที่แน่นอนของแคระแดงในอีกหลายปีต่อมา


ปฏิสัมพันธ์ระหว่างดาวฤกษ์ไม่ได้เป็นสิ่งผิดปกติอย่างที่มันฟัง ดาวหาง ISON ซึ่งสลายตัวหลังจากที่ผ่านเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ของเราในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน อาจจะถูกส่งมาอยู่ในวงโคจรเฉี่ยวดวงอาทิตย์(Sun-grazing orbit) โดยดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่ผ่านเข้าใกล้ระบบสุริยะในอดีต คล้ายๆ กัน การผ่านเข้าใกล้ระหว่างดาวในระบบฟอมาลโอท์ที่เสนอขึ้นมาอาจจะส่งดาวหางหลายดวงเข้าสู่วงโคจรเฉี่ยวดวงอาทิตย์ คุณอาจจะจินตนาการว่าถ้ามีดาวเคราะห์ที่เอื้ออาศัยได้ใดๆ อยู่รอบ ฟอมาลโอท์ เอ หรือ ซี ผู้อาศัยก็น่าจะโชคดีกว่าเราและได้เห็นดาวหางที่น่าตื่นตาตื่นใจปรากฎบนท้องฟ้ายามค่ำคืน


หอสังเกตการณ์เฮอร์เชลซึ่งสำรวจเอกภพในช่วงแสงอินฟราเรด หมดสารทำความเย็นฮีเลียมลงและหยุดการสำรวจในเดือนเมษายนปีที่แล้ว นั้นเป็นเวลา 7 เดือนก่อนที่จะจำแนก ฟอมาลโอท์ ซี ว่าเป็นหนึ่งในระบบดาว แต่โชคดีที่กล้องได้ถ่ายภาพระบบแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2011 ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงมีข้อมูลมากมายรออยู่แล้ว


Kennedy นั้นทราบเกี่ยวกับแถบดาวหางตั้งแต่เมื่อหลายปีก่อน ในช่วงไม่กี่ปีหลังนี้ เราใช้เฮอร์เชลเพื่อมองหาแถบดาวหางรอบดาวฤกษ์มากมายภายในระยะทางไม่กี่ร้อยปีแสงจากดวงอาทิตย์ ในช่วงนั้น ฟอลมาลโอท์ ซี ยังถูกเรียกว่า LP 876-10 อยู่เลย และเราก็คิดว่ามันเป็นดาวแคระแดงโดดเดี่ยวที่มีแถบดาวหาง มันน่าสนใจเนื่องจากการค้นพบลักษณะนี้เป็นเรื่องที่ยากมากๆ แต่ก็ไม่ได้บอกเราว่าเพราะเหตุใดมันจึงอยู่ตรงนั้น หลังจากการค้นพบที่ว่าดาวนี้เป็นส่วนหนึ่งในระบบฟอมาลโอท์ การมีอยู่ของแถบดาวหางก็ทำให้เราต้องคิดหนักมากขึ้นเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างดาว 2 ดวง และมันอาจจะเป็นว่ามันช่วยไขปริศนาของแถบดาวหางวงโคจรรีรอบฟอมาลโอท์ เอ ได้


Kennedy และทีมกำลังพยายามที่จะตรวจสอบแนวคิดการผ่านเข้าใกล้ด้วยแบบจำลองเสมือนจริงคอมพิวเตอร์และการสำรวจที่ให้รายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับแถบใน ฟอมาลโอท์ ซี ลักษณะเหมือนจะไม่มีแถบรอบฟอมาลโอท์ บี ก็ยังคงเป็นปริศนา แต่ถ้าแบบจำลองเสมือนจริงอยู่ในแนวทางที่นักดาราศาสตร์ได้เห็น จากนั้นก็น่าจะมีควันปืนแสดงการผ่านเข้าใกล้และพิสูจน์ว่าดาวฤกษ์อื่นสามารถส่งผลต่อแนวทางที่ระบบดาวเคราะห์ก่อตัวและพัฒนาตัวขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น