กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง

กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง (Refract telescope)
Refract telescope
       เป็นกล้องดูดาวแบบที่ใช้เลนซ์เป็นหลัก กาลิเลโอ เป็นบุคคลแรกที่ประดิษฐกล้องชนิดนี้ขึ้น ประกอบด้วยเลนซ์อย่างน้อยสองชิ้น คือ เลนซ์วัตถุ (Object Lens) เป็นเลนซ์ด้านรับแสงจากวัตถุ เป็นเลนซ์นูนซึ่งจะมีความยาวโฟกัสยาว (Fo)  และเลนซ์ตา (Eyepieces) เป็นเลนซ์ที่ติดตาเราเวลามอง ซึ่งมีความยาวโฟกัสสั้น (Fe) กว่าเลนซ์วัตถุมากๆ ทำให้เกิดอัตราการขยาย ซึ่งคำนวนได้จากสูตร
      
            
      อัตราการขยายของกล้อง = ความยาวโฟกัสเลนซ์วัตถุ Fo /ความยาวโฟกัสเลนซ์ตา Fe
Galieo    กล้องชนิดหักเหแสงที่กาลิเลโอประดิษฐ์ขึ้น ช่วงปี ค.ศ.1600 สมัยนั้นเรียกกันว่า "ท่อขยาย" มีกำลัขยายเพียง 30 เท่า สามารถเห็นหลุมบนดวงจันทร์  ดาวพฤหัส และบริวารอีก 4 ดวง (ไอโอ  ยูโรป้า  คาลิสโต  แกนิมีด) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ดวงจันทร์กาลิเลียน รวมทั้ง ดาวเสาร์และวงแหวนของดาวเสาร์ แต่สมัยของกาลิเลโอนั้น เลนซ์ตาจะเป็นเลนซ์เว้า ประสิทธิภาพไม่สู้ดีนัก ทำให้กาลิโอเห็นวงแหวนดาวเสาร์ เป็นเหมือนดาวแฝดสามของดาวเสาร์เอง
   ซึ่งต่อมากล้องถูกพัฒนาขึ้นใหม่โดย โยฮัน เคปเลอร์ ในปี คศ.1611 ใช้เลนซ์ตาทำด้วยเลนซ์นูน ทำให้ภาพคมชัดขึ้น และยืนยันว่าดาวแฝดของดาวเสาร์นั้น แท้จริงคือ วงแหวน  กล้องหักเหแสงของเคปเลอร์นี่เองที่เป็นต้นแบบของกล้องหักเหแสงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

 
   หลักการของกล้องโทรทัศน์ชนิดหักเหแสง    
     เลนซ์วัตถุจะรับแสงจากวัตถุที่ระยะไกลๆแล้วจะเกิดภาพที่ตำแหน่งโฟกัส(Fo) เสมอ แล้ว เลนซ์ตัวที่สอง หรือ เลนซ์ตา (Fe)   จะขยายภาพจากเลนซ์วัตถุอีกครั้ง ซึ่งต้องปรับระยะของเลนซ์ตา เพื่อให้ภาพจากเลนซ์วัตถุที่ตำแหน่ง Fo  อยู่ใกล้กับ โฟกัสของเลนซ์ตา Fe  และทำให้เกิดภาพชัดที่สุด ดังรูป
                            
 
      ด้วยหลักการหักเหของแสงที่ผ่านตัวกลาง จะมีผลทำให้แสงสีขาวถูกแยกสเปคตรัมออกมาเป็นสีรุ้ง ทำให้กล้องแบบที่เลนซ์วัตถุชิ้นเดียว ไม่สามารถใช้งานได้ดีนัก เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า  การคลาดสี (Chromatic Aberration) ทางแก้คือจะต้องใช้เลนซ์ที่ลดอาการคลาดสีได้ ที่เราเรียกว่า Achromatic Lens(รายละเอียดเรื่องนี้ หาอ่านได้จากเรื่องเลนซ์ )
      เมื่อเรานำเลนซ์ตามารับภาพที่จุดโฟกัสของเลนซ์วัตถุเพื่อทำให้เกิดกำลังขยาย หลักการของแสงจะทำให้เกิดภาพหัวกลับ และ กลับซ้ายขวาด้วย ทำให้เราไม่สามารถใช้ดูวิวเห็นเป็นภาพปกติได้ (แต่ถ้าใช้ดูดาวก็อาจจะไม่ต้องสนใจก็ได้)  ทางแก้คือจะต้องมีตัวเปี่ยงเบนแสงที่เรียกว่า ไดอะกอนัล (Diagonal)  มาช่วยทำให้ภาพกลับหัวขึ้นมา หรือ ต้องการกลับภาพซ้ายขวาได้อีกด้วย
     ข้อดีของกล้องแบบหักเหแสง
   1. เป็นกล้องพื้นฐานที่สร้างได้ไม่ยากนัก
   2. โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยๆจึงมีน้ำหนักเบา พกพาเคลื่อนย้ายสะดวก
   3. แสงผ่านเลนซ์วัตถุโดยไม่มีอะไรกีดขวาง ทำให้รับปริมาณแสงเต็มที่
    ข้อเสียของกล้องแบบหักเหแสง
   1. เนื่องจากมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อย ทำให้ปริมาณการรับแสงน้อยไม่เหมาะใช้ดูวัตถุไกลๆอย่าง กาแลกซีและเนบิวล่า
   2. ใช้เลนซ์เป็นตัวหักเหแสง ทำให้เกิดการคลาดสีได้หากใช้เลนซ์คุณภาพไม่ดีพอ   จึงต้องมีการใช้เลนซ์ หลายชิ้นประกอบกันทำให้มีราคาสูง
  3. ภาพที่ได้จากกล้องแบบหักเหแสงจะให้ภาพหัวกลับและกลับซ้ายขวา คืออ่านตัวหนังสือไม่ได้นั่นเอง ดังนั้นกล้องแบบนี้จะต้องมี diagonal prism เพื่อช่วยแก้ไขภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น