12 มกราคม 2557

ข่าว วันที่ 10 มกราคม 2557

10 มกราคม 2557
กายอา (Gaia) เป็นชื่อของอุปกรณ์สำรวจอวกาศที่ถูกส่งไปนอกโลกโดยองค์การอวกาศยุโรป( ESA ก่อตั้งเมื่อปี 1975) ออกแบบมาเพื่อวัดตำแหน่งรวมทั้งการเคลื่อนไหวของวัตถุต่างๆในกาแล็กซีทางช้างเผือกอย่างแม่นยำแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน โดยกายอาถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 19 ธันวาคม 2556 (ดั้งรูป)
 รูปภาพแสดง อุปกรณ์สำรวจอวกาศ


ความน่าสนใจของภารกิจนี้คือ
        1.การทำแผนที่ดาวสามมิติในทางช้างเผือกมากมายประมาณพันล้านดวงเป็นปริมาณที่มหาศาล แต่แท้จริงแล้วคิดเป็น 1% ของดาวทั้งหมดในกาแล็กซีเท่านั้น
        2.ความละเอียดในการวัดนั้นสูงมาก เพราะตำแหน่งของดวงดาวจะถูกวัดในระดับ 25 microarcsec เลยทีเดียว
        คือแล้ว microarcsec มันละเอียดขนาดไหน?
        ถ้าเราแบ่งมุม 1 องศาออกมาเป็น 60 ส่วนเท่าๆกัน เราจะเรียกส่วนย่อยๆนั้นว่า 1ลิปดาหรือ 1 arcminute
       ถ้าเราแบ่ง 1 arcminute ออกเป็น 60 ส่วนเท่าๆกัน เราจะเรียกส่วนย่อยๆนั้นว่า 1 ฟิลิปดาหรือ 1 arcsec ซึ่งมุมดังกล่าวเทียบได้กับการวัดมุมขนาดเล็กจิ๋วเท่าความหนาของเส้นผมที่ระยะห่างออกไปถึง 1,200 กิโลเมตร
        แล้วถ้าเราแบ่ง 1 arcsec ออกเป็น 1 ล้านส่วนเท่าๆกัน เราจะเรียกส่วนย่อยๆนั้นว่า 1 microarcsec
สรุป 1 microarcsec คือ 1 /  3,600,000,000 องศา
        กล้องโทรทรรศน์ในภารกิจกายอาสามารถวัดความละเอียดของตำแหน่งดาวในระดับนี้เลยทีเดียว การวัดตำแหน่งดาวบนโลกจะถูกรบกวนโดยชั้นบรรยากาศทำให้ตำแหน่งของดาวเกิดความคลาดเคลื่อน ดังนั้นกล้องโทรทรรศน์กายอาจึงถูกส่งออกไปนอกโลกเพื่อตัดปัญหานี้ อีกทั้งเพื่อให้ได้ความแม่นยำสูง กล้องโทรทรรศน์กายอาจะทำการวัดตำแหน่งดาวซ้ำๆหลายๆครั้ง โดยเฉลี่ยแล้วดวงละประมาณ 70 ครั้ง 
        การวัดระยะทางระหว่างดวงดาวต่างๆมายังดวงอาทิตย์ของเราจะใช้วิธีที่เรียกว่า พารัลแลกซ์ (parallax) หลักการคือ เมื่อเราเคลื่อนที่เราจะเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้เปลี่ยนตำแหน่งมากกว่าวัตถุที่อยู่ไกล ดังนั้นเมื่อโลกเกิดการโคจรรอบดวงอาทิตย์ เราจะเห็นดาวที่อยู่ใกล้เลื่อนตำแหน่งมากกว่าดาวที่อยู่ไกล (ดั้งรูป)

  รูปภาพแสดงพารัลแลกซ์ (parallax) 

        ซึ่งการเลื่อนตำแหน่งดังกล่าวเกิดขึ้นน้อยมาก แต่เราก็สามารถวัดและนำมาคำนวณระยะห่างระหว่างดาวฤกษ์กับดวงอาทิตย์ได้
        นอกจากนี้กายอายังเก็บข้อมูลอื่นๆเช่น อุณหภูมิ ความเร็ว ความสว่าง ของดวงดาวอย่างละเอียดซึ่งน่าจะทำให้เราเข้าใจกาแล็กซีทางช้างเผือกที่เราอาศัยอยู่ได้ดีขึ้นมากๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น