20 มกราคม 2557

ข่าว วันที่ 20 มกราคม 2557

เคราะห์ร้ายจากดาวหางฮัลลีย์    20 มกราคม 2557 
  ดูเหมือนที่คนโบราณมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าดาวหางนั้นเป็นลางแห่งเคราะห์ร้าย บางทีอาจจะจริง การศึกษาใหม่บอกว่าเมื่อปี ค ศ 536 อาจจะมีชิ้นส่วนจากดาวหางฮัลลีย์ที่แสนโด่งดังชนกับโลก ได้ระเบิดฝุ่นจำนวนมากขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศซึ่งทำให้ดาวเคราะห์เย็นลงตามลำดับ 
  


  การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนี้เชื่อมโยงกับความแห้งแล้งและอดอยากทั่วโลก ซึ่งอาจทำให้มนุษยชาติอ่อนแอจนเกิด โรคระบาดจัสติเนียน(Justinian’s plague) ในปี 541 ถึง 542 ซึ่งเป็นการอุบัติของไข้กาฬโรค(the Black Death) ในยุโรปเป็นครั้งแรกเท่าที่เคยบันทึกมา


ผลสรุปใหม่มาจากการวิเคราะห์น้ำแข็งกรีนแลนด์ซึ่งอยู่ในระหว่างปี 533 ถึง 540 แกนกลางน้ำแข็งบันทึกฝุ่นในชั้นบรรยากาศจำนวนมากในช่วง 7 ปี ซึ่งไม่ได้มีกำเนิดบนโลกทั้งหมด Dallas Abbott ผู้นำการศึกษาจากหอสังเกตการณ์โลก ลามอนท์-โดเฮอร์ตี้ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กล่าวในการประชุมประจำปีสหพันธ์ธรณีฟิสิกส์อเมริกัน ว่า ฉันมีสสารจากนอกโลกในแกนน้ำแข็งของฉัน


คุณลักษณะจำเพาะบางอย่างเช่น ระดับของดีบุกที่สูง ได้บ่งบอกถึงดาวหางที่เป็นต้นกำเนิดของฝุ่นนอกโลก Abbott กล่าว และสสารนั้นก็นำส่งมาในช่วงฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกเหนือ ซึ่งบอกว่ามันมาจากฝนดาวตก เอต้า อควาริด(Eta Aquarid meteor shower) ซึ่งเป็นวัสดุสารที่ดาวหางฮัลลีย์(Halley’s comet) ได้ทิ้งไว้และโลกก็ผ่านเข้าไปทุกๆ เดือนเมษายน-พฤษภาคม


ฝุ่น เอต้า อควาริด อาจจะมีส่วนรับผิดชอบต่อความหนาวเย็นปานกลางในปี 533 Abbott กล่าว แต่เฉพาะมันไม่สามารถอธิบายเหตุการณ์ที่โลกมืดมัวในช่วงปี 536 ถึง 537 ได้ ซึ่งดาวเคราะห์อาจจะเย็นลงมากถึง 3 องศาเซลเซียส จึงต้องมีบางสิ่งที่พิเศษกว่านั้นเกิดขึ้น ข้อมูลจากแกนน้ำแข็งได้บันทึกหลักฐานของการปะทุภูเขาไฟในปี 536 แต่ก็แทบจะแน่นอนที่มันไม่ได้ใหญ่มากพอที่จะเปลี่ยนสภาพอากาศได้อย่างรุนแรง เธอกล่าว ฉันคิดว่ามันเป็นกิจกรรมภูเขาไฟแบบเบาๆ แต่ผมคิดว่าเรื่องหลักก็คือมีอะไรบางอย่างที่ชนมหาสมุทร


เธอและเพื่อนร่วมงานได้พบหลักฐานของการชนลักษณะนั้น แกนน้ำแข็งกรีนแลนด์ประกอบด้วยฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรเขตร้อนขนาดจิ๋ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไดอะตอม(diatom) และซิลิโคฟลาเจลเลต(silicoflagellates) สปีชีส์เฉพาะ การชนจากนอกโลกในมหาสมุทรเขตร้อนน่าจะระเบิดสิ่งมีชีวิตจากละแวกศูนย์สูตรตัวน้อยเหล่านี้ไปทั่วเพื่อไปแข็งตัวในกรีนแลนด์ และ Abbott เชื่อว่าวัตถุที่เป็นตัวการครั้งหนึ่งเคยเป็นชิ้นส่วนของดาวหางฮัลลีย์


ดาวหางฮัลลีย์วิ่งผ่านโลกทุกๆ 76 ปีหรือประมาณนั้น มันปรากฎตัวบนท้องฟ้าโลกในปี 530 และก็สว่างเจิดจ้ามากในช่วงเวลานั้น Abbott กล่าว ในบรรดาการปรากฎตัวที่สว่างที่สุดของดาวหางฮัลลีย์ 2 ครั้งนั้น ครั้งหนึ่งเกิดขึ้นในปี 530 เธอกล่าว ดาวหางโดยปกติแล้วก็เป็นก้อนหิมะสกปรก แต่เมื่อพวกมันแตกออกหรือทิ้งชิ้นส่วนจำนวนหนึ่งออกมา สสารสีมืดภายนอกจะหลุดหายไป และด้วยเหตุนี้ ดาวหางจึงดูสว่างขึ้น


ยังคงไม่แน่ชัดว่าดาวหางนี้ทิ้งชิ้นส่วนมาชนกับโลกในบริเวณใดและใหญ่แค่ไหน เธอกล่าวเสริม อย่างไรก็ตาม การศึกษาในปี 2004 ประเมินว่าชิ้นส่วนดาวหางที่มีขนาดกว้างเพียง 600 เมตรก็น่าจะทำให้เกิดความหนาวเย็นในปี 536-537 ได้ถ้ามันระเบิดในชั้นบรรยากาศและฝุ่นองค์ประกอบของมันกระจายไปอย่างสม่ำเสมอทั่วโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น