31 มกราคม 2557

ข่าว วันที่ 30 มกราคม 2557

    วันที่ 30 มกราคม เวลา 20:27 UT เกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์เป็นมุมกว้างรอบทิศทางโดยมีทิศทางที่ตรงกับโลก ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้มีความรุนแรงกว่าเหตุการณ์ในวันที่ 29 มกราคม ที่ผ่านมา และครั้งส่งพลังงานรังสี X-ray ในระดับ M6.6 จากโมเดลพบว่าคลื่นพลังงานดังกล่าวจะเดินทางมาถึงในแนววงโคจรของโลกในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เวลา 7:49 UT +/- 6 ชั่วโมง 


ในช่วงวันดังกล่าวยังเป็นวันที่สำคัญทางดาราศาสตร์ คือมีการเรียงตัวระหว่าง ดวงอาทิตย์ ดาวพุธ และ ดาวเสาร์ และ ระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ เป็นแนวเส้นตรง นอกจากนั้นยังมีการเรียงตัวระหว่าง ดวงอาทิตย์ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ในแนวตั้งฉาก

ผู้ที่สนใจการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติบนโลก โปรดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ครับ


28 มกราคม 2557

ข่าว วันที่ 27 มกราคม 2557

ซุปเปอร์โนวาดึกดำบรรพ์    27 มกราคม 2557 
  นักดาราศาสตร์ที่ทำงานกับโครงการ Supernova Legacy Survey(SNLS) ได้ค้นพบซุปเปอร์โนวาที่สว่างที่สุดและห่างไกลที่สุดสองแห่งเท่าที่เคยบันทึกมา ที่ระยะห่าง 10 พันล้านปีแสง และสว่างกว่าซุปเปอร์โนวาทั่วไปประมาณร้อยเท่า
 พื้นที่ส่วนเล็กๆ ในพื้นที่สำรวจจากการสำรวจ Supernova Legacy Survey แสดง SNLS-06D4eu และกาแลคซีต้นสังกัดของมัน(ลูกศรชี้) ซุปเปอร์โนวาและกาแลคซีต้นสังกัดนั้นอยู่ห่างไกลมากจนทั้งคู่ปรากฎเป็นแสงริบหรี่ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกได้อย่างชัดเจนในภาพนี้ วัตถุสว่างขนาดใหญ่ที่มีประกายกากบาทเป็นดาวในกาแลคซีของเราเอง จุดแสงอื่นๆ เป็นกาแลคซีไกลโพ้น 

ข่าว วันที่ 27 มกราคม 2557

วงแหวนดาวหางในระบบฟอมาลโอท์    27 มกราคม 2557 
  ดาวฤกษ์ใกล้บ้าน ฟอมาลโอท์ เอ(Fomalhaul A) นั้นมีระบบดาวเคราะห์ที่โด่งดังที่สุดนอกเหนือจากระบบสุริยะของเรา ประกอบด้วยทั้งดาวเคราะห์นอกระบบดวงหนึ่งและวงแหวนดาวหางอีก 1 วง 
  

  ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติได้ประกาศการค้นพบใหม่ด้วยหอสังเกตการณ์อวกาศเฮอร์เชลซึ่งทำให้ระบบแห่งนี้จึงน่าจดจำมากขึ้นไปอีก นั้นคือ ขณะนี้ พบว่าดาวที่มวลต่ำสุดในบรรดาดาวสามดวงของระบบฟอมาลโอท์ คือ ฟอมาลโอท์ ซี มีแถบดาวหางเป็นของมันเอง นักวิจัยเผยแพร่ผลสรุปในจดหมายต่อวารสาร Monthly Notices of the Royal Astronomical Society

25 มกราคม 2557

ข่าว วันที่ 23 มกราคม 2557

กับดักดาวเคราะห์    23 มกราคม 2557 
  การศึกษาใหม่รายงานว่าการอพยพเข้าสู่ส่วนในของพิภพต่างด้าวขนาดยักษ์อาจจะถูกทำให้ช้าลงจากการมีกับดักดาวเคราะห์ในดิสก์ฝุ่นและก๊าซรอบดาวฤกษ์แม่ของพวกมัน 
  

ข่าว วันที่ 23 มกราคม 2557

การเกิดและดับของมหานครกาแลคซี    23 มกราคม 2557 
  ในเอกภพยุคต้นเมื่อหลายพันล้านปีก่อน กาแลคซีจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เทียบเท่ากับกลางเมืองหรือไม่ก็ชนบท โดยพวกที่อยู่ในพื้นที่เมืองที่แออัดซึ่งเรียกว่ากระจุกกาแลคซี จะให้ผลเกิดความคับคั่ง โดยมีก๊าซเย็นหรือเชื้อเพลิงเพื่อให้ก่อตัวดาวฤกษ์จำนวนมาก
 กลุ่มจุดสีแดงที่เห็นใกล้ใจกลางภาพแสดงหนึ่งในกระจุกกาแลคซีไกลโพ้นหลายแห่งที่ค้นพบโดยการรวมข้อมูลช่วงตาเห็นจากภาคพื้นดินโดยหอสังเกตการณ์แห่งชาติ คิตต์พีค ของหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ช่วงตาเห็นแห่งชาติ(NOAO) กับข้อมูลอินฟราเรดจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ กระจุกกาแลคซีแห่งนี้ ISCS J1434.7+3519 นั้นอยู่ห่างออกไป 9 พันล้านปีแสง 

20 มกราคม 2557

ข่าว วันที่ 20 มกราคม 2557

แขนกังหันที่หายไปของทางช้างเผือก    20 มกราคม 2557 
  การศึกษาดาวฤกษ์มวลสูงที่กินเวลา 12 ปีได้ยืนยันว่ากาแลคซีของเรานั้นมีแขนกังหัน 4 แขน หลังจากที่มีการโต้เถียงมาหลายปีนับแต่ภาพที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์แสดงแขนกังหันเพียงสองแขนเท่านั้น 
 ภาพนี้แสดงการกระจายตัวของดาวมวลสูงในทางช้างเผือกจากการศึกษาใหม่ ตำแหน่งของเราภายในกาแลคซีระบุเป็นวงกลมสีดำ 

  งานวิจัยใหม่ซึ่งเผยแพร่ออนไลน์ใน Monthly Notices of the Royal Astronomical Society เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจ RMS(Red MSX Survey) ซึ่งดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยลีดส์

ข่าว วันที่ 20 มกราคม 2557

เคราะห์ร้ายจากดาวหางฮัลลีย์    20 มกราคม 2557 
  ดูเหมือนที่คนโบราณมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าดาวหางนั้นเป็นลางแห่งเคราะห์ร้าย บางทีอาจจะจริง การศึกษาใหม่บอกว่าเมื่อปี ค ศ 536 อาจจะมีชิ้นส่วนจากดาวหางฮัลลีย์ที่แสนโด่งดังชนกับโลก ได้ระเบิดฝุ่นจำนวนมากขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศซึ่งทำให้ดาวเคราะห์เย็นลงตามลำดับ 
  

18 มกราคม 2557

ข่าว วันที่ 16 มกราคม 2557

อุกกาบาตรัสเซีย จากต้นจนจบ    16 มกราคม 2557 
  นักวิทยาศาสตร์ได้ประติดประต่อความเป็นมาของหินอวกาศที่ชนกับชั้นบรรยากาศโลกเหนือเมือง Chelyabinsk ในรัสเซียเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์
  

  สร้างเป็นลูกไฟที่สว่างเจิดจ้ากว่าดวงอาทิตย์ช่วงเช้าตรู่ มันระเบิดอย่างรุนแรงเหนือขึ้นไป 30 ถึง 45 กิโลเมตร จากนั้นอีก 88 วินาทีคลื่นกระแทกก็ทำให้ประชาชน 1200 คนได้รับบาดเจ็บ และกระจกหน้าต่างในตึกเกือบครึ่งเดียวต้องแตกละเอียด

ข่าว วันที่ 16 มกราคม 2557

ระบบดาวแคระขาวคู่พิเศษ    16 มกราคม 2557 
  ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 มีการค้นพบดาวฤกษ์ไม่ปกติดวงหนึ่งในกลุ่มดาวสุนัขล่าเนื้อ(Canes Venatici) อีกหลายปีต่อมา นักดาราศาสตร์ได้ตรวจสอบพบว่าวัตถุซึ่งถูกเรียกว่า AM Canum Venaticorum หรือเรียกสั้นๆ ว่า AM CVn นั้นแท้จริงแล้วเป็นดาว 2 ดวง ดาวเหล่านี้โคจรรอบกันและกันทุกๆ 18 นาที และมีการทำนายว่าพวกมันจะสร้างคลื่นความโน้มถ่วง ซึ่งเป็นระลอกในกาล-อวกาศซึ่งทำนายโดยไอน์สไตน์
  

17 มกราคม 2557

ข่าว วันที่ 17 มกราคม 2557

วันที่ 17 มกราคม เวลา 2:39 UT เกิดปฏิกริยาที่ดวงอาทิตย์เป็นมุมกว้างส่งพลังงานออกมาทางด้านหลังไม่ตรงกับโลก ในขณะที่ปริมาณจุดดับกำลังลดระดับลงต่ำสุด และเกิดขึ้นในช่วงที่มีรังสี X-ray ในระดับ C3 



16 มกราคม 2557

ข่าว วันที่ 13 มกราคม 2557

ดาวแคระน้ำตาลเพื่อนบ้านอาจมีดาวเคราะห์ 13 มกราคม 2557 นักดาราศาสตร์ได้พบสัญญาณของสิ่งที่อาจเป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงหนึ่งในระบบดาวฤกษ์แท้งคู่แห่งหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ๆ ถ้ายืนยัน พิภพต่างด้าวแห่งนี้น่าจะเป็นหนึ่งในพิภพที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเท่าที่เคยพบมา
 Luhman 16AB 

ข่าว วันที่ 13 มกราคม 2557

พัลซาร์วงโคจรรี    13 มกราคม 2557 
  ดาวแคระขาวนั้นมักจะระเบิดและกลายสภาพได้แบบเดียวเท่านั้นคือ การตายกลายเป็นซุปเปอร์โนวาประเภท Ia แต่การวิเคราะห์ใหม่บอกว่าดาวแคระขาวนั้นอาจจะสร้างประภาคารชนิดพิเศษได้ด้วย คือเป็นพัลซาร์เสี้ยววินาทีกลุ่มเล็กๆ ที่ไม่เป็นไปตามแบบแผน
 กลุ่มเมฆของอนุภาคมีประจุเคลื่อนที่ตามแนวเส้นแรงสนามแม่เหล็กของพัลซาร์(สีฟ้า) และสร้างลำการเปล่งคลื่นที่คล้ายประภาคาร(สีม่วง) ในภาพประกอบคำอธิบายนี้ 

ข่าว วันที่ 13 มกราคม 2557

พวยพุไอน้ำบนยูโรปา    13 มกราคม 2557 
  กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลของนาซาได้สำรวจพบไอน้ำเหนือพื้นที่ขั้วโลกใต้ที่เย็นเยือกของยูโรปาดวงจันทร์ดาวพฤหัส กลายเป็นหลักฐานที่ชัดเจนชิ้นแรกของพุน้ำที่ปะทุขึ้นมาจากพื้นผิวดวงจันทร์นี้
 ภาพประกอบรวมข้อมูลอุลตราไวโอเลตจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล(สีฟ้า) กับภาพช่วงตาเห็นแสดงซีกโลกส่วนนำของยูโรปา การเปล่งคลื่นจากไฮโดรเจนและออกซิเจนบอกว่าพวยพุไอน้ำกำลังปะทุจากพื้นผิวใกล้ขั้วใต้ของดวงจันทร์

12 มกราคม 2557

ข่าว วันที่ 10 มกราคม 2557

10 มกราคม 2557
กายอา (Gaia) เป็นชื่อของอุปกรณ์สำรวจอวกาศที่ถูกส่งไปนอกโลกโดยองค์การอวกาศยุโรป( ESA ก่อตั้งเมื่อปี 1975) ออกแบบมาเพื่อวัดตำแหน่งรวมทั้งการเคลื่อนไหวของวัตถุต่างๆในกาแล็กซีทางช้างเผือกอย่างแม่นยำแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน โดยกายอาถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 19 ธันวาคม 2556 (ดั้งรูป)
 รูปภาพแสดง อุปกรณ์สำรวจอวกาศ

10 มกราคม 2557

ข่าว วันที่ 8 มกราคม 2557

ปริศนาอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์    8 มกราคม 2557 
  นักดาราศาสตร์มหาวิทยาลัยวอชิงตันพบว่าความแปลกประหลาดในชั้นบรรยากาศของโลกที่มีร่วมกับดาวพฤหัส, ดาวเสาร์, ยูเรนัสและเนปจูนนั้นน่าจะเป็นเรื่องปกติสำหรับดาวเคราะห์อีกนับพันล้านดวง และทราบว่าสิ่งนั้นอาจจะช่วยในการสำรวจหาพิภพที่อาจเอื้ออาศัยได้ 
 ดวงอาทิตย์เพิ่งลับขอบฟ้าในภาพนี้และสร้างแสงเรืองสีส้มแดงเหนือพื้นผิวโลกซึ่งเป็นโทรโปสเฟียร์ หรือชั้นบรรยากาศส่วนล่าง โทรโปพอสคือเส้นสีน้ำตาลตามแนวขอบบนของโทรโปสเฟียร์ เหนือขึ้นไปคือ สตราโตสเฟียร์เป็นชั้นบรรยากาศเบื้องสูง และอวกาศที่ดำมืด 

ข่าว วันที่ 8 มกราคม 2557

จาะโครงสร้างพื้นฐานของการปะทุรังสีแกมม่า    8 มกราคม 2557 
  การศึกษาใหม่ซึ่งใช้การสำรวจจากเครื่องมือล้ำยุคได้ให้ภาพที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีของสนามแม่เหล็กในใจกลางการปะทุรังสีแกมม่า ซึ่งเป็นการระเบิดพลังที่รุนแรงที่สุดในเอกภพ
  

  ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติจากบริเตน, สโลวีเนียและอิตาลี ได้แง้มดูโครงสร้างภายในของไอพ่นความเร็วสูงของการปะทุ การปะทุรังสีแกมม่าเป็นการระเบิดที่ส่องสว่างที่สุดในอวกาศ ส่วนใหญ่คิดกันว่าเกิดขึ้นเมื่อแกนกลางของดาวฤกษ์มวลสูงดวงหนึ่งหมดเชื้อเพลิงลง และยุบตัวภายใต้แรงโน้มถ่วงของมันเอง และก่อตัวหลุมดำขึ้น จากนั้นหลุมดำก็ผลักดันไอพ่นอนุภาคที่แผ้วถางตลอดเส้นทางผ่านดาวที่กำลังยุบตัวและปะทุออกสู่อวกาศด้วยความเร็วเกือบเท่าแสง

8 มกราคม 2557

ข่าว วันที่ 5 มกราคม 2557

คลื่นกระแทกมัค 1000     5 มกราคม 2557 
  เมื่อดาวฤกษ์ดวงหนึ่งระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวา มันจะสว่างไสวเจิดจ้ามากเป็นเวลาไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือนก่อนที่จะจางแสงหายไป แต่วัสดุสารที่ระเบิดออกจากซุปเปอร์โนวายังคงเรืองสว่างได้อีกหลายร้อยหรือหลายพันปีต่อมา ก่อเป็นซากซุปเปอร์โนวาที่งามจับตา แล้วอะไรที่ทำให้เกิดการสว่างได้เป็นเวลานาน
 ภาพถ่ายซากซุปเปอร์โนวาของไทโคโดยหอสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทรา รังสีเอกซ์พลังงานต่ำ(สีแดง) ในภาพแสดงเศษซากที่กำลังขยายตัวจากการระเบิดซุปเปอร์โนวา และรังสีเอกซ์พลังงานสูง(สีฟ้า) แสดงคลื่นการระเบิดซึ่งเป็นเปลือกของอิเลคตรอนพลังงานสูงมากๆ 

  ในกรณีของซากซุปเปอร์โนวาของไทโค นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบว่ามีคลื่นกระแทกย้อนกลับเดินทางเข้าภายในด้วยความเร็วมัค 1000(หนึ่งพันเท่าความเร็วเสียง) กำลังทำให้ซากซุปเปอร์โนวาร้อนขึ้นและเป็นสาเหตุให้มันเปล่งรังสีเอกซ์ Hiroya Yamaguchi ซึ่งทำการวิจัยที่ศูนย์ฮาร์วาร์ดสมิธโซเนียนเพื่อดาราศาสตร์ฟิสิกส์(CfA) กล่าวว่า เราไม่น่าจะสามารถศึกษาซากซุปเปอร์โนวาเก่าแก่ได้ถ้าไม่มีคลื่นกระแทกย้อนกลับที่ทำให้พวกมันสว่างมากขึ้น

ข่าว วันที่ 5 มกราคม 2557



 ดาวเคราะห์ที่อยู่ผิดที่    5 มกราคม 2557 
  นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ห่างไกลที่สุดเท่าที่เคยพบมารอบดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ดวงหนึ่ง มันเป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่ค้นพบที่มหาวิทยาลัยอริโซนา
 ภาพการค้นพบดาวเคราะห์ HD 106906b ในช่วงอินฟราเรดความร้อน ดาวเคราะห์นั้นอยู่ไกลมากกว่าวงโคจรของเนปจูนจากดวงอาทิตย์ในระบบของเรามากกว่า 20 เท่า

  ด้วยมวลที่ 11 เท่าดาวพฤหัส และโคจรรอบดาวฤกษ์ของมันที่ระยะทาง 650 เท่าระยะทางเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ HD 106906b นั้นไม่เหมือนกับอะไรในระบบสุริยะของเราและสร้างปัญหาให้กับทฤษฏีการก่อตัวดาวเคราะห์ Vanessa Bailey ซึ่งนำการวิจัยนี้ เธอเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 5 ของแผนกดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยอริโซนา กล่าวว่า ระบบนี้น่าตื่นตาตื่นใจมากเนื่องจากไม่มีแบบจำลองใดทั้งการก่อตัวดาวเคราะห์หรือดาวฤกษ์ที่อธิบายสิ่งที่เราเห็นได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย