31 มกราคม 2557

ข่าว วันที่ 30 มกราคม 2557

    วันที่ 30 มกราคม เวลา 20:27 UT เกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์เป็นมุมกว้างรอบทิศทางโดยมีทิศทางที่ตรงกับโลก ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้มีความรุนแรงกว่าเหตุการณ์ในวันที่ 29 มกราคม ที่ผ่านมา และครั้งส่งพลังงานรังสี X-ray ในระดับ M6.6 จากโมเดลพบว่าคลื่นพลังงานดังกล่าวจะเดินทางมาถึงในแนววงโคจรของโลกในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เวลา 7:49 UT +/- 6 ชั่วโมง 


ในช่วงวันดังกล่าวยังเป็นวันที่สำคัญทางดาราศาสตร์ คือมีการเรียงตัวระหว่าง ดวงอาทิตย์ ดาวพุธ และ ดาวเสาร์ และ ระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ เป็นแนวเส้นตรง นอกจากนั้นยังมีการเรียงตัวระหว่าง ดวงอาทิตย์ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ในแนวตั้งฉาก

ผู้ที่สนใจการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติบนโลก โปรดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ครับ


28 มกราคม 2557

ข่าว วันที่ 27 มกราคม 2557

ซุปเปอร์โนวาดึกดำบรรพ์    27 มกราคม 2557 
  นักดาราศาสตร์ที่ทำงานกับโครงการ Supernova Legacy Survey(SNLS) ได้ค้นพบซุปเปอร์โนวาที่สว่างที่สุดและห่างไกลที่สุดสองแห่งเท่าที่เคยบันทึกมา ที่ระยะห่าง 10 พันล้านปีแสง และสว่างกว่าซุปเปอร์โนวาทั่วไปประมาณร้อยเท่า
 พื้นที่ส่วนเล็กๆ ในพื้นที่สำรวจจากการสำรวจ Supernova Legacy Survey แสดง SNLS-06D4eu และกาแลคซีต้นสังกัดของมัน(ลูกศรชี้) ซุปเปอร์โนวาและกาแลคซีต้นสังกัดนั้นอยู่ห่างไกลมากจนทั้งคู่ปรากฎเป็นแสงริบหรี่ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกได้อย่างชัดเจนในภาพนี้ วัตถุสว่างขนาดใหญ่ที่มีประกายกากบาทเป็นดาวในกาแลคซีของเราเอง จุดแสงอื่นๆ เป็นกาแลคซีไกลโพ้น 

ข่าว วันที่ 27 มกราคม 2557

วงแหวนดาวหางในระบบฟอมาลโอท์    27 มกราคม 2557 
  ดาวฤกษ์ใกล้บ้าน ฟอมาลโอท์ เอ(Fomalhaul A) นั้นมีระบบดาวเคราะห์ที่โด่งดังที่สุดนอกเหนือจากระบบสุริยะของเรา ประกอบด้วยทั้งดาวเคราะห์นอกระบบดวงหนึ่งและวงแหวนดาวหางอีก 1 วง 
  

  ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติได้ประกาศการค้นพบใหม่ด้วยหอสังเกตการณ์อวกาศเฮอร์เชลซึ่งทำให้ระบบแห่งนี้จึงน่าจดจำมากขึ้นไปอีก นั้นคือ ขณะนี้ พบว่าดาวที่มวลต่ำสุดในบรรดาดาวสามดวงของระบบฟอมาลโอท์ คือ ฟอมาลโอท์ ซี มีแถบดาวหางเป็นของมันเอง นักวิจัยเผยแพร่ผลสรุปในจดหมายต่อวารสาร Monthly Notices of the Royal Astronomical Society

25 มกราคม 2557

ข่าว วันที่ 23 มกราคม 2557

กับดักดาวเคราะห์    23 มกราคม 2557 
  การศึกษาใหม่รายงานว่าการอพยพเข้าสู่ส่วนในของพิภพต่างด้าวขนาดยักษ์อาจจะถูกทำให้ช้าลงจากการมีกับดักดาวเคราะห์ในดิสก์ฝุ่นและก๊าซรอบดาวฤกษ์แม่ของพวกมัน 
  

ข่าว วันที่ 23 มกราคม 2557

การเกิดและดับของมหานครกาแลคซี    23 มกราคม 2557 
  ในเอกภพยุคต้นเมื่อหลายพันล้านปีก่อน กาแลคซีจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เทียบเท่ากับกลางเมืองหรือไม่ก็ชนบท โดยพวกที่อยู่ในพื้นที่เมืองที่แออัดซึ่งเรียกว่ากระจุกกาแลคซี จะให้ผลเกิดความคับคั่ง โดยมีก๊าซเย็นหรือเชื้อเพลิงเพื่อให้ก่อตัวดาวฤกษ์จำนวนมาก
 กลุ่มจุดสีแดงที่เห็นใกล้ใจกลางภาพแสดงหนึ่งในกระจุกกาแลคซีไกลโพ้นหลายแห่งที่ค้นพบโดยการรวมข้อมูลช่วงตาเห็นจากภาคพื้นดินโดยหอสังเกตการณ์แห่งชาติ คิตต์พีค ของหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ช่วงตาเห็นแห่งชาติ(NOAO) กับข้อมูลอินฟราเรดจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ กระจุกกาแลคซีแห่งนี้ ISCS J1434.7+3519 นั้นอยู่ห่างออกไป 9 พันล้านปีแสง 

20 มกราคม 2557

ข่าว วันที่ 20 มกราคม 2557

แขนกังหันที่หายไปของทางช้างเผือก    20 มกราคม 2557 
  การศึกษาดาวฤกษ์มวลสูงที่กินเวลา 12 ปีได้ยืนยันว่ากาแลคซีของเรานั้นมีแขนกังหัน 4 แขน หลังจากที่มีการโต้เถียงมาหลายปีนับแต่ภาพที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์แสดงแขนกังหันเพียงสองแขนเท่านั้น 
 ภาพนี้แสดงการกระจายตัวของดาวมวลสูงในทางช้างเผือกจากการศึกษาใหม่ ตำแหน่งของเราภายในกาแลคซีระบุเป็นวงกลมสีดำ 

  งานวิจัยใหม่ซึ่งเผยแพร่ออนไลน์ใน Monthly Notices of the Royal Astronomical Society เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจ RMS(Red MSX Survey) ซึ่งดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยลีดส์

ข่าว วันที่ 20 มกราคม 2557

เคราะห์ร้ายจากดาวหางฮัลลีย์    20 มกราคม 2557 
  ดูเหมือนที่คนโบราณมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าดาวหางนั้นเป็นลางแห่งเคราะห์ร้าย บางทีอาจจะจริง การศึกษาใหม่บอกว่าเมื่อปี ค ศ 536 อาจจะมีชิ้นส่วนจากดาวหางฮัลลีย์ที่แสนโด่งดังชนกับโลก ได้ระเบิดฝุ่นจำนวนมากขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศซึ่งทำให้ดาวเคราะห์เย็นลงตามลำดับ